top of page
  • Writer's pictureLadda Kongdach

DEATH AND THE MAIDEN | คนตาย หรือ ความยุติธรรมตาย

By Peel the Limelight

Reviewed by ภูริต พุทธิธนากุล

จากการแสดงรอบ 10.11.18 20.00

Death and the Maiden เป็นบทละครของAriel Dorfman ซึ่งนำเอาชื่อเพลงคลาสสิค ของ Schubertมาเป็นชื่อเรื่อง และแน่นอนคุณจะได้ยินเสียงเพลงเพลงนี้บรรเลงคลอไปกับละครระทึกขวัญ สั่นจิตประสาทเรื่องนี้ด้วย บทละครที่เคยถูกสร้างเป็นภาพยนตร์มาแล้ว แต่ครั้งนี้ Peel The Limelight นำมาปรับให้เข้ากับละครเวทีฉากเดียว แต่เป็นโปรดักชั่นที่เนี๊ยบมากทั้งงานดีไซน์ฉาก แสง เสียง รวมถึงการกำกับเวที อยากจะให้ผู้ที่ศึกษาด้านละครได้มาดูตัวอย่างโปรดักชั่นเล็กๆ ที่แสนพิถีพิถันนี้ กำกับการแสดงโดย Peter O’Neil หนุ่มนิวยอร์ก ผู้มีผลงานแสดงและกำกับ ทั้งใน New York Londonและ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย นำแสดงโดย Kelly B Jones เธอเคยผ่านงานในจอ และบนเวทีมาอย่างมากมาย เธอมารับบท Paulina Salasผู้หญิงซึ่งเคยถูกตกเป็นผู้ต้องขังทางการเมือง และถูกผู้คุมขังข่มขืนและทารุณ เมื่อหลายปีก่อน และ15 ปีต่อมาในวันหยุดพักผ่อนที่บ้านพักตากอากาศริมทะเล กับสามี Gerardo Escobar (รับบทโดย Jaime Zúñiga) ผู้เป็นคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน ซึ่งได้รับมอบหมายให้เข้ามาดูแลเรื่องคดีที่เกิดจากการกระทำความรุนแรงโดยรัฐบาล แต่ในวันพักผ่อนกลับมีเหตุให้ Gerado ต้องขอความช่วยเหลือบนท้องถนน กับ Dr. Roberto Miranda (รับบทโดย James Laver) จนทำให้ Dr. Miranda ได้มาพบกับ Paulina ที่บ้านพักตากอากาศนี้ และเธอก็จำได้ทันทีแม้จะไม่เคยเห็นหน้ากันมาก่อน ว่าเขาคือผู้คุมที่เคยปิดตาข่มขืนและทรมาณเธอเมื่อ 15 ปีก่อน การแก้แค้น และการไต่สวนจึงเกิดขึ้นอย่างลับๆ ในบ้านพักตากอากาศนี้เอง

การแสดงของ Jones นับว่าทรงพลังมาตั้งแต่ฉากแรก และให้ความรู้สึกเหมือนกำลังดูหนัง Thriller ของ Hollywood แต่คราวนี้นางเอกออกจากนอกจอ มาอยู่ตรงหน้าคุณ โดนเฉพาะฉากแรงๆ อย่างตอนที่ Paulina ถอดกางเกงใน ออกมายัดปาก Dr. Miranda ผู้ซึ่งถูกเธอมัดขึงกับเก้าอี้ และเอาปืนจ่อหัว เพื่อคาดคั้นให้สารภาพผิด โดยมีสามีของเธอ พยายามจะไกล่เกลี่ย เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น จะทำให้คุณตะลึง นี่แหละ Psycho – triller ในละครเวทีที่หาชมได้ไม่ง่ายนักในบ้านเรา

ในเพจของละครเรื่องนี้ ได้เกริ่นเอาไว้ว่า ละครเรื่องนี้นำเสนอจุดสมดุล ระหว่างการแก้แค้นและการปรองดอง

โดยสะท้อนให้เห็นความเป็นไปของผลพวงจากการปกครองอย่างเผด็จการ สื่อผ่านหน่วยเล็กๆ คือคนสามคนในเหตุการณ์นี้มาเป็นเครื่องมือ ให้เราขบคิดถึงบทบาทของผู้กระทำ และผู้ถูกกระทำ กับระยะเวลา และคำว่าการให้อภัย กับคำว่ากฎหมาย จะดำเนินบทบาทของมันไปอย่างไร ในที่สุดแล้วความสมดุลอยู่ตรงไหน ซึ่งในจุดนี้ ผู้ชมสามารถแสดงความคิดเห็นกับนักแสดงในวงเสวนาเล็กๆ หลังการแสดงจบด้วย และสิ่งหนึ่งที่ Peel the Limelight ทำได้สำเร็จกับละครเรื่องนี้คือ การใช้ละครมาทำให้คนดูสามารถตระหนักรู้ถึงปัญหาของเหยื่อจากความรุนแรงทางการเมือง นำมันมาบอกเล่าเป็นเหตุการณ์ที่เข้าถึงได้ และเข้าใจสภาวะทุกข์ระทมของเหยื่อเหล่านั้น ในการแสดงครั้งนี้ยังเป็นการระดมทุนเพื่อช่วยเหลือ ผู้ลี้ภัยชาวนิการากัว ในกัวแตมาลา และคอสตาริกา ที่เป็นเหยื่อจากความรุนแรงทางการเมือง การลอบสังหาร และการว่างงาน เนื่องจากประเทศนิการากัวเป็นประเทศหนึ่งที่ได้รับความบอบช้ำจากการปกครองแบบเผด็จการมายาวนาน ซึ่งละครเรื่องนี้ก็เหมือนเป็นเสียงเล็กๆ เสียงหนึ่ง ที่มาขับขานให้เราได้ตระหนักว่าเราจะรับมืออย่างไร หากเราต้องตกอยู่ในสถานการณ์ เฉกเช่นเดียวกัน

ปล. เสียงเพลงอคูสติกบรรเลงสดภาสเปน ของศิลปินหญิงนักรณณรงค์ชาวนิการากัวที่ท่านจะได้ยิก่อนละครจะเริ่มนั้น เหมือนกับจะสะท้อนเรื่องราวอันบบอบช้ำออกมาได้อย่างน่าทึ่ง โดยที่เราไม่จำเป็นต้องเข้าใจภาษาสเปนเลย

Death and the Maiden

แสดงเป็นภาษาอังกฤษ มีคำบรรยายไทย

ยังเปิดการแสดงอีก 4 รอบ ในเดือนพฤศจิกายน 2018 นี้

วันศุกร์ ที่ 16 เวลา 20.00 – 22.00

วันเสาร์ ที่ 17 เวลา 20.00 – 22.00

วันศุกร์ ที่ 23 เวลา 20.00 – 22.00

วันเสาร์ ที่ 34 เวลา 20.00 – 22.00 วันศุกร์ ที่ 30 เวลา 20.00 – 22.00 วันเสาร์ ที่ 1 ธันวาคม 2561 เวลา 20.00 – 22.00

ที่ Peel the Limelightตึก Jasmine City ชั้น2 สุขุมวิท23 จองบัตร CLICK HERE

236 views0 comments
  • Facebook
  • Instagram
bottom of page