top of page
  • ป้าเอี้ยง

03: BTF2017 Open space พื้นที่การแสดงหลายชาติพันธุ์ ที่ลานหน้าหอศิลป์BACC

English and Thai info

สถานที่ ลานหน้าหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

(BTS สนามกีฬาแห่งชาติ)

หนึ่งในงานเทศกาลละครกรุงเทพ Bangkok Theatre Festival 2017

เดือนพฤศจิกายนมาเยือนอีกครั้ง ก็แสดงว่าจะได้พบกับเทศกาลละครกรุงเทพอีกหน ปี 2560 นี้ ลานส่วนหน้าของหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร เปิดรับลมหนาวพร้อมกับเปิดโอกาสให้คุณผู้ชมได้พบความงามของศิลปการแสดงจากหลากหลายชาติ ทั้งอินโดนีเซีย พม่า กัมพูชา และไทย ทั้งที่เป็นศิลปการแสดงแบบดั้งเดิม และแบบสมัยใหม่ โดยจุดเด่นของการแสดงในส่วนนี้ เน้นให้ผู้ชมเข้าใจง่าย ไม่มีกำแพงเรื่องภาษา ขอเชิญมาพบกับลานง่ายๆสบายๆนั่งล้อมวงกันชมแบบไทยๆ ได้ในวันเสาร์และอาทิตย์ ที่ 4,5,11,12,18,19 พฤศจิกายน 2560 ตั้งแต่เวลา 17.00 น.-20.00 น. การแสดงในส่วนนี้ไม่มีค่าเข้าชมสนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ sawaneeu2@gmail.com

หรือติดตามรายละเอียดได้ที่ www.bangkoktheatrefestival.com

International Performances

BTS, National Stadium Station

one of Bangkok Theatre Festival 2017

November again, that means Bangkok Theatre Festival is back again. This year, the open space in the front of Bangkok Art and Culture Center is opening for cool breezes and opens up for the beauty of performance art, both traditional and contemporary, from different countries such as Indonesia, Myanmar, Cambodia and Thailand. The highlight of performances here focuses on simple communication, language barriers will be pushed aside. You are welcome to this chill-out zone on Saturdays and Sundays 4-5, 11-12, 18-19 of November 2017, from 5-8 p.m., free of charge. For more information, please contact sawaneeu2@gmail.com or www.bangkoktheatrefestival.com

ทำความรู้จักการแสดงที่ลานหน้าหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

Getting to Know the Performances

“บทเพลงสี่ฤดู” โดย พะยูนน้อย NSKO

ดนตรีบทเพลงยอดนิยมที่บรรยายเรื่องราวเกี่ยวกับฤดูทั้งสี่ โดย Vivaldi คีตกวียุคบาโรค นำกลับมาบรรเลงอีกครั้ง โดย วงเยาวชน NSKO กำกับโดย Kamol Buranakul

"The Four Seasons" by PAYOONNOI-NSKO

Music narrating the four seasons written by Vivaldi, a composer of Baroque, is brought back to live again by NSKO

“The Exotic Enggang Tribal Dance” โดย Bali Indah Dance Studio (Indonesia)

"ระบำนกเงือกกาฮัง" โดย บาหลี อินดาห์ แดนซ์สตูดิโอ (อินโอนีเซีย)

นกเงือกเป็นนกศักดิ์สิทธิ์ของเผ่าดายัคในกาลิมันตันเกาะบอร์เนียว ประเทศอินโดนีเซีย ระบำนกเงือกจึงเป็นการรำถวายแต่บรรพบุรุษ ระบำนี้ผู้แสดงหญิงจะสวมชุดประจำเผ่าดายัคเคนยาห์ และเครื่องประดับบนศีรษะเป็นรูปหัวนกเงือก มือถือขนนกเงือก ร่ายรำด้วยท่าทางของนกเงือกที่กำลังบินและเกาะอยู่บนกิ่งไม้

นักแสดง ลินดา เค็นคานา มาจากครอบครัวศิลปินชาวบาหลี เชี่ยวชาญด้านการแสดงและรำ ได้รับรางวัลจากการประกวดการแสดงและการรำ ทั้งประเภทดั้งเดิมและสมัยใหม่

Enggang bird or hornbill bird is a nobel bird for Dayak tribe in Kalimantan-Borneo, Indonesia. Enggang dance thus be regarded as a tribute to their ancestor. This performance is presented by a female dancer wearing traditional clothing of Dayak Kenyah and motif pat on the head ornaments of Enggang bird. During the performance, her both hands holding the feathers of Enggang. This dance emphasizes on the movements of Enggang bird while flying and perching on a tree branch.

Dancer name: Linda Kencana : She came from a Balinese artist family. Acting and dancing are two essential aspects of her foundation as an artist. She won some acting and dancing contests (traditional and modern genre). Nationality: Indonesian

"พระเนมิราช เดอะมิวสิคัล พัพเพทโชว์"โดย บ้านตุ๊กกะตุ่นหุ่นกระบอกไทย

"Nemirath The musical puppet show" by Tookkatoon Studio and Theatre

การผจญภัยของพระเนมิราช ซึ่งเป็นชาติหนึ่งของพระพุทธเจ้า เพื่อเดินทางเรียนรู้ผลของการกระทำความดีและความชั่ว เพื่อนำมาสอนให้กับประชาชนของตนเอง โดยเนื้อเรื่องใหม่ได้มีการดัดแปลงให้เหมาะสมกับยุคสมัยปัจจุบัน

กำกับโดย นายนิเวศ แววสมณะ

Nemirath, one of Buddha’s avatars, travelled to learn of good and evil deeds to, later, teach his own subjects. The script was modernized.

directed by Mr Nivet Waeysamana

ลั่น!!สัตว์ประหลาดโผล่ตัวเป็นๆ" โดย ปาปีรัส

"Monsters movement” by Papyrus กำกับ โดย อ๋อง จารุพงศ์ จันทรีย์

directed by Jarupong Chantriya

"วีเค.ซันทาซิโอ้ " โดย ดีดีซี โปรดักชั่น

“VK Suntasio” ิby DDC production

ศิลปะการแสดงมายากลครั้งนี้ ไม่ใช่แค่การหยิบอุปกรณ์และจัดการ แต่เป็นอีกศิลปะการแสดงอีกแขนงที่จะล่อลวงตาผู้ชมเข้าสู่มิติมหัศจรรย์ บนพื้นที่สาธารณะ ที่ทุกท่านสามารถจับต้องได้ด้วยสายตาและจินตนาการพร้อมกับศิลปะนี้ ที่ทุกอย่างสามารถเป็นไปได้

กำกับโดย พรเพ็ญ ฟ้าอำนวย

The art of this show is not just picking up items and manipulate them… but it is another kind of performing art that will bring you into the miraculous dimension with magical imagination with the fascinating art. Where everything is possible!

Directed by Pornphen fah amnuay

“One Khmer One Identity” โดย SILAPAK KHEMARA (Cambodia)

"เขมรเดียว เอกลักษณ์เดียว" โดยสิละปัก เขมะระ (กัมพูชา)

One Khmer One Identity ผู้ออกแบบท่าการแสดงนี้คือคุณคะนาล เขียฝ (เจอรี่) ในพ.ศ.2560 เพื่อนำไปแสดงในงานครบรอบ50ปีอาเซียน การแสดงชุดนี้มีการผสมผสานการเต้นรำเพลงป๊อปและการร่ายรำแบบดั้งเดิมของเขมรเข้าด้วยกันโดยสือความหมายของเพลง One Khmer One Identity เนื้อเพลงที่สำคัญได้แก่วรรคที่ว่า “คุณเป็นคนเขมรไม่ว่าจะอยู่ที่ใด” และ “เรารักกัมพูชา เราช่วยกันพัฒนาประเทศของเรา” นิสิตและนักศึกษาชาวกัมพูชาที่ศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยต่างๆในประเทศไทยเช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยบูรพา และมหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้ขะมักเขม้นทำงานนี้ด้วยกันเพื่อให้การแสดงนี้สำเร็จ ที่สำคัญคือ นิสิตนักศึกษาเหล่านี้ไม่เคยมีประสบการณ์ด้านการแสดงมาก่อน แต่ความรักและความมุ่งมั่นได้นำพวกเขามาถึงเวทีการแสดงจนได้

*คณะ SILAPAK KHEMARA ก่อตั้งโดย Kanal Khiev (Jerry)

“One Khmer One Identity”: This show is choreographed by Mr. Kanal Khiev (Jerry) in 2017 to perform at ASEAN 50 Years event. This show is a combination of Khmer Pop Dance and Khmer Classical Dance interpreting the meaning of the song “One Khmer One Identity”. Few significant sentences of this song are “…you are Khmer wherever you are.” and “… we love Cambodia, we work together to develop our country.” In response to these sentences, Cambodian students from different universities such as Chulalongkorn University, Kasetsart University, Mahidol University, Burapha University, and Ramkamheng University with various background work hard together to make this performance happen. Importantly, none of them have experienced in performing art but because of love and passion bring them on stage today.

SILAPAK KHEMARA (Khmer Arts) was established in 2012 by Kanal Khiev (Jerry)

“กินรีหารัก” ลิเกศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ

"Harpy Finds Love" by Li-kay, musical folk drama, from Find Arts, Chula

เมื่อกินรีวัยซนแอบขัดคำสั่งพ่อแม่ หนีเขาไกรลาสลงมาตามหาชายในฝันในเมืองมนุษย์ที่ไม่ได้สวยดังคิด นางจะพบกับความรักที่ตามหาได้หรือไม่

"ลิเก" มีพัฒนาการที่สลับซับซ้อน อย่างไรก็ดี ประวัติของลิเกแบ่งออกได้เป็น 6 ยุคหลัก คือ ลิเกสวดแขก ลิเกออกภาษา ลิเกทรงเครื่อง ลิเกลูกบท ลิเกเพชร และ ลิเกลอยฟ้า ลิเกยังสืบทอดไม่เสื่อมหายมาจนทุกวันนี้

When a half-human, half-bird broke her parents’ command, ran away from Krylas Mount to find a man of her dream in human land where was not as beautiful as she had dreamt of, whether or not she would find the love she was looking for.

Li-kay, a Thai musical folk drama, has complicated development. However, it can be categorized into 6 genres: Malay chant, language mock, court-dress mock, derivative of commoner plays, diamond, and sky stage. Li-kay still exists nowadays.

“RE/DE Context” โดย Noise Theatre

การแสดง เกิดขึ้นจากการสร้างสรรค์ของศิลปิน ที่เข้าร่วมในการ workshop ในแนวคิดRe-Contextualization และ De-contextualization (Performances originate from the creativity of the artist. Participating in workshops on the concept of re-contextualization and de-contextualization. Organized by the Noise Theater) โดยจะตระเวนแสดงไปตามจุดต่างๆในหอศิลปฯกรุงเทพ ในช่วงเวลา17.00-18.30 น. 11-12,18-19 พย. 60 ผลงานกำกับของคานธี วสุวิชย์กิต ที่เคยฝากผลงานประทับใจและเป็นเอกลักษณ์มาแล้วใน "สดับ Concerto"

This performance originated from the creativity of artists participating in workshops organized by the Noise Theater on the concept of Re-Contextualization and De-contextualization, is taking place, in turns, around BACC05.00-06.30pm 11-12,18-19Nov.2017 and directed by Gandhi Wasuvitchayagit, who had done the distinguishing "Sadub (Listen) Concerto".

“ปลาที่ไม่มีขา” โดย กลุ่มละครเยาวชนเชื้อชาติพม่า จาก...มหาชัย

"Fish Without Legs" by Burmese Youth Theatre from Mahachi

ในป่าแห่งหนึ่งมีสัตว์อาศัยอยู่มากมาย และ สัตว์ทุกตัวล้วนมี 'ขา' สัตว์มีขาทุกตัวสามารถเดินไปเรียนหนังสือที่โรงเรียนได้ แต่มีสัตว์อยู่ตัวหนึ่งที่ไม่สามารถไปโรงเรียนได้ นั่นคือ "เจ้าปลาต่างถิ่น" เพราะมันไม่มี 'ขา' อันที่จริงมันไปไหนไม่ได้ทั้งนั้น นอกจากอยู่ในลำธารเล็กๆ ที่มันว่ายน้ำพลัดหลงมา เพื่อนสัตว์มีขาต่างช่วยกันคิดหาวิธีพาเจ้าปลาต่างถิ่นไปโรงเรียน พวกมันทำสำเร็จ และ เจ้าปลาต่างถิ่นก็ได้ไปโรงเรียนในที่สุด .................. วันหนึ่ง เจ้าปลาต่างถิ่น ครุ่นคิดว่า ถ้ามันอยากไปที่อื่นอีกล่ะ ? เพื่อนสัตว์มีขาจะยังช่วยพามันไปอยู่ไหมนะ หรืออันที่จริง มันไปไหนไม่ได้ทั้งนั้น นอกจากอยู่ในลำธารเล็กๆ ที่มันว่ายน้ำพลัดหลงมา เพราะ มันไม่มี 'ขา'

Fish Without Legs by Myanmar Children of Mahachai

In a forest, lived many animals and all those who had legs could go to school. One creature could not, that misplaced fish, for it had no legs. Actually it could not go anywhere except the small creek it had accidently swum in. Those friends with legs brainstormed how to bring the misplaced fish to school. They succeeded and the fish could finally go to school.

One day, the fish was thinking what if it wanted to go somewhere else? Would his friends who had legs still help to go about? Or it could not go anywhere, besides this creek, because it had no legs.

“โขนอยุธยา” โดย คณะไก่แก้วการละคร

Ayudhaya Khon by Gai Gaew Studio

“เรื่องเรา Story me” โดย คณะมรดกใหม่ Moradokmai

มันเป็นเรื่องธรรมดาที่คนเราทุกคนต่างก็มีความต้องการ แต่เมื่อเรามีความต้องการ แล้วความต้องการของเรานั้นจะนำพาเราไปในทางที่ดีหรือไม่

กำกับโดย กฤตบุญ พุทธสุวรรณ

It is normal that human beings want things but when you want something whether or not your desire leads you on the right path!!!

Directed by Kidboon Phutthasuwan

“ปล้ำ PLUM” โดย คณะดีงส์ DEE-NG Physical Theatre / ละครที่เน้นการสื่อสารด้วยกายภาพ

ประตูที่สำคัญย่อมมีผู้เฝ้าประตู ผู้เฝ้าประตูย่อมกรองสิ่งที่จะเข้าไปด้านใน

กำกับโดย กวิน พิชิตุกุล (วิน)

Physical Theatre

A great door always comes with a good doorman who can select things to pass.

Directed by Kwin Bhichitkul (Win)

ตารางการแสดง ณ ลานหน้าหอศิลป์ Schedule @ open space, BACC

4-5พย 4-5 Nov.2017

17:00 “บทเพลงสี่ฤดู” โดย พะยูนน้อย NSKO

“The Four Seasons” by PAYOONNOI-NSKO 17 :45 “The Exotic Enggang Tribal Dance” (Indonesia)

“ระบำนกเงือกกาฮัง” (อินโดนีเซีย)

by Bali Indah Dance Studio 18:15 "พระเนมิราช เดอะมิวสิคัล พัพเพทโชว์"โดย บ้านตุ๊กกะตุ่นหุ่นกระบอกไทย

“Nemirath The musical puppet show” by Tookkatoon Studio and Theatre

------------------------------------------------------------- 11-12พย 11-12 Nov. 2017

17:00 “ลั่น!!สัตว์ประหลาดโผล่ตัวเป็นๆ” โดย ปาปีรัส

“Monsters movement” by Papyrus 17:30 “VK Suntasio” โดย DDC Production 18:00 “One Khmer One Identity” (กัมพูชา) by SILAPAK KHEMARA 18:15 “กินรีหารัก” โดย ลิเกศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ

“Harpy finds love” by Li-kay (Thai musical folk drama) by Fine Arts, Chula

17.00-18.30 “Re/De Context”โดย Noise Theatre

(แสดงในบริเวณโดยรอบBACC /taking place around BACC ) ------------------------------------------------------------- 18พย 18 Nov. 2017

17:00 “ปลาที่ไม่มีขา” กลุ่มละครเยาวชนเชื้อชาติพม่า จาก...มหาชัย

"Fish Without Legs" by Burmese Youth Theatre from Mahachi

17.00-18.30 “Re/De Context”โดย Noise Theatre

(แสดงในบริเวณโดยรอบBACC /taking place around BACC ) 18:00 “โขนอยุธยา” โดย คณะไก่แก้วการละคร

"Ayudhaya Khon" by Gai Gaew Studio 18:30 “เรื่องเรา” โดย คณะมรดกใหม่

“Story me” by Moradokmai 19:00 “ปล้ำ” โดย คณะดีงส์ “PLUM” by DEE-NG 19พย 19 Nov.2017

17.00-18.30 “Re/De Context”โดย Noise Theatre

(แสดงในบริเวณโดยรอบBACC /taking place around BACC ) 17:30 “โขนอยุธยา” โดย คณะไก่แก้วการละคร

18:30 “เรื่องเรา” โดย คณะมรดกใหม่

“Story me” by Moradokmai

19:00 “ปล้ำ” โดย คณะดีงส์ “PLUM” by DEE-NG

  • Facebook
  • Instagram
bottom of page